” แผ่นดินถล่ม “

   ดินถล่ม (Landslide or Mass movement) คือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก โดยปรกติ ดินถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ “ น้ำ ” จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่มเสมอ โดยน้ำจะเป็นตัวลดแรงต้านทานในการเคลื่อนตัวของมวลดินหรือหิน และน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้คุณสมบัติของดินที่เป็นของแข็งเปลี่ยนไปเป็นของไหลได้

  • สาเหตุการเกิดแผ่นดินถล่ม

มี 2 สาเหตุ

1) สาเหตุจากมนุษย์ (Manmade Causes) กิจกรรมที่มนุษย์ทำในบริเวณที่ลาดชัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดดินถล่มหรือโคลนถล่ม เช่น

·       การต้ัดต้นไม้ทำลายป่า

·       การเกษตรในพื้นที่ลาดชันเชิงเขา

·       การกำจัดพืชที่ปกคลุมดินและการตัดไม้ทำลายป่า

กิจกรรมเหล่านี้ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวมีความลาดชันเพิ่มขึ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลของน้ำผิวดินและเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบาดาล ซึ่งอาจก่อให้เกิดดินถล่มหรือโคลมถล่ม การขุดหรือตัดถนนในบริเวณที่ลาดเชิงเขาอาจก่อให้เกิดความชันของพื้นที่มากขึ้น การขุดเหมืองและการระเบิดหินมักจะทำให้ดินมีความลาดชันเพิ่มขึ้น การทำการเกษตรในบริเวณที่ลาดชัน เกษตรกรก็จำเป็นที่จะต้องกำจัดวัชพืชและอาจปรับพื้นที่ให้มีลักษณะขั้นบันไดหรือธุรกิจการตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลของน้ำบริเวณผิวดินกล่าวคือน้ำจะไหลผ่านหน้าดินอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดการชะล้างหน้าดินเนื่องจากป่าถูกทำลาย ดินขาดรากไม้ยึดเหนี่ยวนอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลของน้ำบริเวณผิวดินยังส่งผลต่อระดับน้ำบาดาลอีกด้วย ในการทำชลประทาน จะมีปริมาณน้ำส่วนหนึ่งที่ซึมออกจากคลองชลประทานและไหลซึมลงไปใต้ดิน ทำให้ระดับน้ำบาดาลเพิ่มสูงขึ้น มวลดินมีน้ำหนักมากขึ้นและอาจเป็นสาเหตุให้เกิดดินถล่มในที่สุด การเพิ่มระดับน้ำบาดาลอาจมีสาเหตุมาจากการรั่วของท่อน้ำ บ่อหรืออ่างเก็บน้ำ หรือการปล่อยน้ำทิ้งจากที่ต่าง ๆ

รูปที่ 1.1 การตัดต้นไม้ทำลายป่า

สาเหตุของภัยแล้ง – Drought in Thailand
ที่มา : https://savedrought.wordpress.com/

รูปที่ 1.2 ปลูกข้าวที่สูง


2) สาเหตุจากธรรมชาติ (Natural factors) เหตุการณ์ทางธรรมชาติก็เป็นสาเหตุให้เกิดดินถล่มหรือโคลนถล่มได้เช่นกัน เช่น

·       ฝนตกหนัก การเกิดดินถล่มในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะมีฝนเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญเสมอ

·       การละลายของหิมะจะไปเพิ่มระดับน้ำใต้ผิวดิน และน้ำหนักของดินอย่างรวดเร็ว

·       การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลง การลดระดับน้ำในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำ

·       การกัดเซาะของดินจากกระแสน้ำในแม่น้ำ ลำธาร หรือจากคลื่นซัดทำให้ความหนาแน่นของมวลดินลดลง

·       การผุพังของมวลดินและหิน

·       การสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว

·     ภูเขาไฟระเบิด ในบริเวณที่ภูเขาไฟยังไม่สงบ เถ้าภูเขาไฟหรือลาวาจะเคลื่อนตัวเป็นมวลดินขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นต่ำเมื่อเกิดฝนตกหนัก จึงมีโอกาสที่เกิดดินถล่มหรือโคลนถล่มนอกจากนี้ การเกิดดินถล่มอาจมีสาเหตุจากการเกิดภัยธรรมชาติหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ในบางกรณี ภัยธรรมชาติเพียงภัยหนึ่งอาจส่งผลให้เกิดภัยต่าง ๆ ตามมาได้ ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวซึ่งทำให้เกิดดินถล่มและเขื่อนแตก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในพื้นที่ท้ายน้ำที่มีระดับต่ำกว่า เหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้อาจส่งผลกระทบแตกต่างไป จากเหตุการณ์ที่มีสาเหตุการเกิดจากภัยพิบัติเพียงภัยเดียว

รูปที่ 2.1 ฝนตกหนัก

ที่มา : https://www.thairath.co.th/
  • ผลกระทบของแผ่นดินถล่ม

1. บ้านเรือนพังทลายจากการทับถมของเศษดิน หิน ทราย ที่ไหลมากับน้ำ
2. ผู้คนและสัตว์เลี้ยงได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
3. พืชผลทางการเกษตรเสียหาย
4. เส้นทางคมนาคมต่างๆถูกทำลายเสียหาย
5. เส้นทางเดินของน้ำถูกทับถมและเปลี่ยนไป

รูปที่ 3.1 บ้านเรือนเสียหาย

รูปที่ 3.2 คนได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต

ยอดตายจากน้ำท่วม-ดินถล่มบนเกาะคิวชู เพิ่มเป็น 20 ราย สูญหายอีก 14 เตือน ฝนตกหนักอีก
ที่มา : https://today.line.me/th/article/
  • การเตรียมพร้อมและการป้องกัน

รูปที่4.1 ก่อนเกิดแผ่นดินถล่ม

สัญญาณเตือนก่อนเกิดดินถล่ม สาเหตุการเกิดดิน
ที่มา : http://www.oic.go.th/

รูปที่4.2 ระหว่างเกิดแผ่นดินถล่ม

สัญญาณเตือนก่อนเกิดดินถล่ม สาเหตุการเกิดดิน
ที่มา : http://www.oic.go.th/

รูปที่4.3 หลังเกิดแผ่นดินถล่ม


  • ตัวอย่างแผ่นดินถล่มในไทยและต่างประเทศ
    ดินโคลนถล่ม ในภาคเหนือ เชียงใหม่เสี่ยง 21 อำเภอ

“ดินถล่ม” บ่อเกลือ จ.น่าน เสียชีวิต 6 คน

อัฟกานิสถานดินถล่ม!ตายพุ่ง-สูญหายกว่า 2,000 คน

ดินถล่มในโคลอมเบีย ดับแล้วกว่า 254 ราย สูญหายอีกหลายร้อย

ข้อมูลอ้างอิง

ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ – http://www.lesa.biz/earth/hydrosphere/elnino

National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) – https://www.noaa.gov/education/resource-collections/weather-atmosphere-education-resources/el-nino

National Geographic – https://www.nationalgeographic.com/environment/weather/reference/el-nino-la-nina/

National Geographic Society – https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/el-nino/

แหล่งที่มาข้อมูล
กรมทรัพยากรธรณี . ดินถล่มคืออะไร. [ออนไลน์] จาก http://www.dmr.go.th/dmr_data/geohazard/update_landslide/landslide_definition.htm
กรมอุตุนิยมวิทยา. แผ่นดินถล่ม (Land Slides). [ออนไลน์]จาก http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=76
แผ่นดินถล่ม. [ออนไลน์] จาก http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Landslide
มูลนิธิกระจกเงา. โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน. ดินถล่ม. [ออนไลน์] จาก http://www.siamvolunteer.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=9&auto_id=7&TopicPk=
https://sites.google.com/site/

  1. Stun บน Home

    เว็บดูแล้วทันสมัยข้อ…

บลอกที่ WordPress.com .

Up ↑

Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้